โครงสร้างและภารกิจ

 ประวัติวิทยาลัยการปกครองโดยสังเขป 

                   วิทยาลัยการปกครอง  ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๓ ในสมัยของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี โดยใช้พระที่นั่งนงคราญสโมสรและพระตำหนักสุวัทนา วังสุนันทา ถนนราชสีมา เขตดุสิต กรุงเทพฯ เป็นสถานที่ฝึกอบรม หลักสูตรที่เปิดสอน ได้แก่ หลักสูตรประกาศนียบัตรการปกครอง (ปลัดอำเภอมีวิชาว่าด้วยลักษณะกฎหมายอาญา หลักการจับกุม สืบสวนสอบสวนคดีอาญา ประวัติศาสตร์ จรรยาบรรณของนักปกครอง ขับรถยนต์ ขี่ม้า เป็นต้น ต่อมาวิทยาลัยการปกครองมีการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ ดังนี้

.. ๒๔๘๕       ได้รับจัดตั้งเป็นแผนกโรงเรียนในกรมการปกครอง

.. ๒๕๐๖        จัดตั้งโรงเรียนนายอำเภอ ณ ตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี

.. ๒๕๑๒        จัดตั้งสถาบันการศึกษาและฝึกอบรมพนักงานเทศบาล ซึ่ง

           ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนข้าราชการส่วนท้องถิ่น ในปี พ.. 2515 

          (ปัจจุบันโอนไปสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น)

.. ๒๕๑๔       จัดตั้งโรงเรียนปลัดอำเภอ

.. ๒๕๑๕       จัดตั้งเป็นวิทยาลัยการปกครอง

การจัดตั้งวิทยาลัยการปกครองมีลักษณะที่แตกต่างจากสำนักและกองต่าง ๆ  ตรงที่เป็นสถาบันการให้การศึกษาอบรมแก่บุคลากรของกรมการปกครอง ในสมัยก่อนนั้นต้องดูแลทั้งข้าราชการที่อยู่ในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ตลอดจนพนักงานฝ่ายปกครองที่อยู่ในท้องที่ทั่วประเทศ ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น และองค์กรประชาชนต่าง ๆ

 

 โครงสร้างภารกิจและอำนาจหน้าที่ของวิทยาลัยการปกครอง

 หน้าที่ของวิทยาลัยการปกครอง

                    ตามกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. ๒๕๕๙

                    ข้อ ๑๑ วิทยาลัยการปกครอง มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

                                (๑) ดําเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมและพัฒนาข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของกรม รวมทั้งพนักงานฝ่ายปกครอง

                                (๒) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

โครงสร้างของวิทยาลัยการปกครอง

                ตามคำสั่งกรมการปกครองที่ ๑๗๕๒/๒๕๖๒

                    วิทยาลัยการปกครอง วิทยาลัยการปกครอง มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรม พัฒนาข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของกรมการปกครอง หรือหน่วยงานอื่น รวมทั้งพนักงานฝ่ายปกครอง และหลักสูตรทั่วไป ตลอดจน ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย แบ่งโครงสร้างภายในออกเป็น ๑ สำนักอธิการ ๓ ส่วน ได้แก่

                    ๑. สำนักอธิการ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานบริหารทั่วไป งานธุรการ งานสารบรรณ การบริหารบุคคล งานเลขานุการ คณะกรรมการบริหารวิทยาลัยการปกครอง งานเลขานุการผู้บริหาร งานระเบียบกฎหมาย การจัดทำและบริหารงบประมาณ การดำเนินการเกี่ยวกับการเงินและบัญชี การจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารงานพัสดุ การดูแลรักษายานพาหนะ อาคารสถานที่ การดำเนินการเกี่ยวกับพิธีการและสารนิเทศ การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข่าวสาร ของหน่วยงานผ่านสื่อต่างๆ เป็นภาษาอังกฤษ การจัดการด้านโภชนาการ การจัดสถานที่ จัดเตรียมดอกไม้ธูปเทียน ฯลฯ สำหรับการฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ และงานพิธีการต่างๆ และงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งโครงสร้างภายใน เป็น ๕ ฝ่าย คือ

                             ๑.๑ ฝ่ายบริหารทั่วไป

                             ๑.๒ ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์

                             ๑.๓ ฝ่ายบริหารการคลังและงบประมาณ

                             ๑.๔ ฝ่ายพัสดุ ยานพาหนะและอาคารสถานที่

                             ๑.๕ ฝ่ายโภชนาการ


                    ๒. ส่วนวางแผนและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม
มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับจัดทำแผนยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับ ปค. มท. จัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ จัดทำแผนพัฒนาวิทยาลัยการปกครองและบุคลากรของกรมการปกครอง จัดแนวทางการเรียนการสอน จัดทำขอบเขตเนื้อหาวิชาและเทคนิคการฝึกอบรม ให้บริการข้อมูลวิทยากรเกี่ยวกับองค์ความรู้ ด้านวิชาการ การปรับปรุงหลักสูตรการฝึกอบรมให้ทันสมัย พัฒนาบุคลากรภายในของวิทยาลัยการปกครอง การประสานงานกับสถาบันการศึกษา/การฝึกอบรม ตลอดจนส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นๆ ที่จัดการศึกษาอบรม ประชุม สัมมนา ทางวิชาการ เพื่อจัดส่งบุคลากรไปเข้าร่วมประชุมสัมมนาฯ หรือขอความร่วมมือทางด้านวิชาการ การฝึกอบรม และ การพัฒนาบุคลากร จัดหำหนังสือและเอกสารทางวิชาการสำหรับให้บริการด้านการค้นคว้า วิจัย ดูแลรักษาพิพิธภัณฑ์ จัดทำวารสาร เช่น วิถีธัญบุรี และงานประชาคมอาเซียน และงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งโครงสร้างภายใน ออกเป็น ๓ กลุ่มงาน คือ

                            ๒.๑ กลุ่มงานแผนยุทธศาสตร์

                            ๒.๒ กลุ่มงานวิชาการ

                            ๒.๓ กลุ่มงานวิทยบริการ

                     ๓. ส่วนอำนวยการฝึกอบรม มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดระบบอำนวยและบริหารการฝึกอบรม การบริหารจัดการพิธี เปิด-ปิด การศึกษาอบรม การให้บริการด้านต่างๆ แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม จัดทำข้อมูลผู้เข้ารับการ อบรมทุกหลักสูตรทุกรุ่น จัดทำแผนปฏิบัติงานโครงการ การพัฒนาเทคนิคและกระบวนการฝึกอบรม การให้ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมและบุคลากร การพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่าย ระบบเว็บไซต์ ระบบฐานข้อมูล งานผลิตสื่อการเรียนการสอน ปรับปรุงพัฒนาอุปกรณ์ ตลอดจนสื่อการเรียนการสอน อาทิ แผ่นพลิก แผ่นใส สไลด์ การบันทึกภาพและเสียง วีดีทัศน์ รวมถึงการจัดหา ควบคุมการให้บริการ และอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรบ จัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการศึกษาอบรม การจัดทำและให้บริการด้านงานพิมพ์ และงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งโครงสร้างภายในออกเป็น ๓ กลุ่มงาน คือ

                            ๓.๑ กลุ่มงานประสานวิชาการและฝึกอบรม

                            ๓.๒ กลุ่มงานบริหารโครงการฝึกอบรม

                            ๓.๓ กลุ่มงานนวัตกรรมและเทคโนโลยีการฝึกอบรม


                    ๔. ส่วนวิจัยและพัฒนาการฝึกอบรม
มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาระบบงานฝึกอบรม การวัดผลและประเมินผลผู้เข้ารับการฝึกอบรม การประเมินผลการจัดการเรียนการสอน การวิเคราะห์และจัดระบบงานการประเมินผลโครงการฝึกอบรมของวิทยาลัยการปกครอง ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการวัดผลและประเมินผลการศึกษาอบรมของผู้เข้ารับการอบรมในหลักสูตรต่างๆ การสำรวจและติดตามประเมินผลหลังเสร็จสิ้นโครงการเพื่อนำไปพัฒนา ปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ กำหนดมาตรฐานของการจัดการศึกษาอบรม ทั้งด้านหลักสูตร การบริหารจัดการ และงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งโครงสร้างภายในเป็น ๒ กลุ่มงาน คือ

                            ๔.๑ กลุ่มงานวิจัย

                            ๔.๒ กลุ่มงานพัฒนาการฝึกอบรม

 

สัญลักษณ์ของวิทยาลัยการปกครอง 

                                                                                           1 display

สัญลักษณ์ของวิทยาลัยการปกครอง  เป็นเข็มวิทยฐานะรูปดอกจันทร์นูน  แฉก มีรูปสิงห์อยู่ตรงกลาง เปรียบได้กับ มรรค ๘ อันเป็นหลักธรรมของนักปกครอง คือ 

ความเห็นชอบ          ดำริชอบ          เจรจาชอบ         ทำงานชอบ          เลี้ยงชีพชอบ        เพียรชอบ        ระลึกชอบ         ตั้งใจชอบ

 

  

คำขวัญของวิทยาลัยการปกครอง

                   คำขวัญของวิทยาลัยการปกครอง สำหรับผู้เข้าอบรมที่ได้มา ร่วมอยู่ ร่วมกิน ร่วมนอน ร่วมทำกิจกรรม ทุกคนจะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันภายใต้คำขวัญว่า   

                                                                      "เรียบ   ง่าย   ประหยัด   สามัคคี   มีวินัย   ช่วยตนเอง"

วิสัยทัศน์และพันธกิจ (แผนยุทธสาสตร์วิทยาลัยการปกครอง พ.ศ.๒๕๖๓-๒๕๖๗)

วิสัยทัศน์    :       เป็นสถาบันชั้นำในการพัฒนาบุคลากรด้านการบูรณาการงานปกครองเชิงพื้นที่ เพื่อความมั่นคงอย่างยั่งยืน 

 

พันธกิจ      :       ๑. ดำเนินการให้มีศูนย์เรียนรู้และพัฒนาด้านการบูรณาการงานปกครองของไทย

                        ๒. การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรด้านการบูรณาการงานปกครองที่มีคุณภาพ

                        ๓. การเสริมสร้างและพัฒนาทีมบุคลากรด้านกระบวนการฝึกอบรมที่เป็นมืออาชีพ

                        ๔. พัฒนาบุคลากรด้านการบูรณาการงานปกครองให้เป็นคนดีคนเก่งภายใต้หลักธรรมาภิบาล

                        ๕. พัฒนาบุคลากรด้านการบูรณาการงานปกครองให้มีสมรรถนะในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ

 

 อาคารและสถานที่ฝึกอบรมของวิทยาลัยการปกครอ

วิทยาลัยการปกครอง ตั้งอยู่เลขที่ ๒๙ หมู่ที่ ๒ ถนนรังสิต–นครนายก (คลอง ๖) ตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ปัจจุบันวิทยาลัยการปกครองมีอาคารรองรับการฝึกอบรมจำนวน ๔ อาคาร ๆ ได้แก่ 
                    ๑. โรงเรียนนายอำเภอ 
                    ๒. โรงเรียนข้าราชการฝ่ายปกครอง 
                    ๓. โรงเรียนสืบสวนสอบสวนพนักงานฝ่ายปกครอง 
                    ๔. โรงเรียนปลัดอำเภอ 
นอกจากนี้ยังมีอีก ๑ อาคาร (อยู่ระหว่างก่อสร้าง) คือ อาคารศูนย์พัฒนาบุคลากรกรมการปกครอง รองรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ประมาณ ๓๐๐ คน
และยังมีอีก ๑ โรงเรียน และ ๑ สถาบัน ที่ไม่มีอาคาร ได้แก่ 
                    - โรงเรียนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 
                    - สถาบันพัฒนาวิชาชีพการทะเบียน 
 นอกจากนั้นยังมีศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรมภาค อีก ๓ แห่ง ได้แก่
                   . ศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรมภาคเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
                   ๒. ศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรมภาคเหนือ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน 
            . ศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรมภาคใต้ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

การบริหารการฝึกอบรม

           

            การบริหารการฝึกอบรมของวิทยาลัยการปกครอง  ซึ่งเป็นภารกิจหลักที่มุ่งการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านวิชาการ ร่างกายและบุคลิกภาพ และด้านจิตใจ ผู้เข้าอบรมจะต้องปฏิบัติภายใต้กติกาอย่างเดียวกันไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติ โดยแต่ละโครงการฝึกอบรมจะใช้ชีวิต ร่วมกิน ร่วมนอน ร่วมเรียน ร่วมกิจกรรม ที่เรียกว่า วิถีธัญบุรี บ่งบอก ถึงความ  เรียบ ง่าย ประหยัด สามัคคี มีวินัย และช่วยตนเอง สะท้อนการใช้ชีวิตร่วมกันแบบที่เคยสัมพันธ์เหมือนอยู่ในภูมิภาคและท้องที่ วิถีชีวิตซึ่งหล่อหลอมให้ผู้เข้าอบรม   มีความสามัคคีผูกพันรักใคร่แบ่งหน้าที่กันทำ   ฝึกการเป็นผู้นำ ความอดทน รู้จักการอยู่ร่วมกันในหมู่คณะ โดยมีผู้อำนวยการโครงการฝึกอบรมและคณะคอยให้คำปรึกษาแนะนำให้ กิจกรรมของผู้เข้าอบรมดำเนินไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

 

            การบริหารโครงการฝึกอบรมแต่ละโครงการ จะมีผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อำนวยการโครงการจัดคณะวิทยากรและเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามขั้นตอนการบริหารการฝึกอบรม โดยจัดทำแผนปฏิบัติงานโครงการศึกษาอบรมตามโครงการที่ได้รับมอบหมายเพื่อขออนุมัติ จัดเตรียมสถานที่รวมไปถึงการจัดห้องพักของผู้เข้า อบรมเตรียมอุปกรณ์  เอกสาร และแบบประเมินผลต่าง ๆ  ประสานหน่วยสนับสนุนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง    เตรียมตารางการฝึกอบรมตามกรอบของหลักสูตรและประสานเชิญผู้บรรยาย การบริหารโครงการในแต่ละโครงการตามระยะเวลาของหลักสูตร กิจกรรม แต่ละวันผู้อำนวยการโครงการจะจัดกลุ่มผู้เข้าอบรมให้ปฏิบัติหน้าที่บริหาร ดูแล       ผู้เข้าอบรมทั้งหมด ผู้บรรยาย ตลอดจนกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะต้องปฏิบัติประจำวัน เรียกว่า กลุ่มปฏิบัติการประจำวัน  หมุนเวียนกันไปทุกวัน วันละกลุ่ม เพื่อการฝึกให้รู้จักการทำงานเป็นทีม การบริหารกลุ่ม การเรียนรู้การเป็นผู้นำ กิจกรรมแต่ละวันที่ผู้เข้าอบรมจะต้องปฏิบัติ

 

๐๕.๓๐.  ตื่นนอน

๐๖.๐๐   พร้อมกันที่สนามหน้าอาคาร เรียกแถวตามกลุ่มปฏิบัติการประจำวัน ให้ผู้เข้าอบรมฝึกพูดต่อหน้าชุมชน  (สารคดี  นาที)  ทุกวัน ตามที่ผู้อำนวยการโครงการจัดจนครบทุกคน  จากนั้นจะเป็นการออกกำลังกาย  โดยเริ่มที่ท่ากายบริหาร ๑๐ ท่าเรียกว่า 

                  "๑๐ ท่าพญายม"  ซึ่งสามารถทำได้ทุกวัยจากนั้นจัดแถวออกวิ่งรอบ ๆ วิทยาลัยการปกครองเป็นการฝึกการออกกำลังกาย

๐๗.๐๐ .  รับประทานอาหารเช้า  อาบน้ำแต่งกายพร้อมศึกษาอบรมและสัมนา

๐๘.๐๐ .  พร้อมกันที่สนามหน้าอาคาร เรียกแถวเคารพธงชาติ ผู้อำนวยการโครงการ วิทยากร หรือ คณะกรรมการนักศึกษาจะแจ้งเรื่องต่าง ๆ ที่จะต้องปฏิบัติ

๐๙.๐๐ .  ศึกษาอบรมและสัมมนา

๑๒.๐๐ .  รับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๐๐ .  ศึกษาอบรมและสัมมนา

๑๖.๐๐ .  กีฬาและพักผ่อน

๑๘.๐๐.  เชิญธงชาติลงจากเสาและรับประทานอาหารเย็น

๑๙.๐๐ .  กิจกรรมพิเศษและสวดมนต์ก่อนนอน

๒๑.๐๐ .  พักผ่อน

 

                กิจกรรมเสริมสร้างในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม นอกจากจะมีวิชาบรรยายในหลักสูตรแล้วยังมีการฝึกปฏิบัติในสถานที่จริงที่วัดหรือมัสยิด รวมทั้งกิจกรรมปฏิบัติธรรม ณ หอพระพุทธสีหภูมิบาลในวิทยาลัยการปกครอง ซึ่งทั้งหมดเป็นปรัชญาการฝึกอบรมที่ต้องการให้ผู้เข้าอบรมได้ทั้งความรู้ คุณธรรม และร่างกายแข็งแรง                   

การวิเคราะห์หาความจำเป็นในการฝึกอบรม

        การวิเคราะห์หาความจำเป็นในการฝึกอบรม  (Training Needs Assessment) เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการพัฒนาระบบการฝึกอบรม ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาคำตอบที่ว่าทำไมต้องฝึกอบรมหรือฝึกอบรมไปเพื่ออะไร      มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างไร และควรจัดการฝึกอบรมอย่างไรจึงจะสอดคล้องกับนโยบายของรัฐ องค์กร และแนวคิดของผู้บังคับบัญชา   ความต้องการของประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งความต้องการของบุคลากรในหน่วยงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจขององค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมีสาระสำคัญในการดำเนินการ ดังนี้

.    ข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์

๑.๑   แนวนโยบายของรัฐและวาระแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาล กระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแนวคิดและนโยบายของผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้าหน่วยงานระดับสูง (Policy Analysis) 

๑.๒   แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงภายในและภายนอกองค์กร (Trend Analysis)

๑.๓   ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Analysis)

๑.๔   ผลกระทบต่อบทบาท อำนาจหน้าที่ สถานภาพ และการปฏิบัติงานของบุคลากรทั้งด้าน   การเมือง เศรษฐกิจ การปกครอง การปฏิรูประบบราชการ รวมทั้งการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระเบียบกฎหมายต่าง ๆ (Force field Analysis)

๑.๕   มาตรฐานการกำหนดตำแหน่ง การวิเคราะห์งาน (Work Analysis) คุณลักษณะเฉพาะตำแหน่งงาน (Job Specification) ที่จำเป็นของผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ

.    วิธีการแสวงหาข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์

๒.๑   ข้อมูลจากเอกสารและข่าวสารทางอีเลคทรอนิกส์ (IT)

๒.๒   ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์  รูปแบบ ได้แก่

๒.๒.๑ การทอดแบบสอบถามตามกลุ่มเป้าหมาย

๒.๒.๒ การสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายเฉพาะรายบุคคล

๒.๒.๓ การสัมภาษณ์แบบลึก (In-depth Interview)

๒.๒.๔ การประชุมกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ (Focus Group)

การประเมินผลการศึกษาอบรม

 

        วิทยาลัยการปกครองกำหนดแนวทางการประเมินผลการฝึกอบรมไว้ ดังนี้

                             .  การวัดผลและประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เข้ารับการอบรม โดยได้วางระเบียบให้มีการวัดผลและประเมินผลผู้เข้ารับการอบรม  ด้าน  ประกอบด้วย

                                  ๑.๑  การวัดผลด้านวิชาการ มีการมอบหมายให้จัดทำเอกสารการศึกษาเชิงวิจัยส่วนบุคคล    เรียงความประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน การวิเคราะห์เรื่องที่ได้รับมอบหมาย รายงานการศึกษาดูงาน รายงานการ

                                           สัมมนากลุ่มย่อย การสรุปสาระสำคัญรายวิชา และการสอบรวบยอด รวมทั้งผลการศึกษาวิชาพิเศษของหลักสูตร เช่น ผบ.ลูกเสือ ผบ.อสเป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของหลักสูตร และระยะเวลาในการ

                                           อบรมตามที่ระเบียบได้วางไว้

                                   ๑.๒  การประเมินผลด้านพฤติกรรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรม   โดยวิทยาลัยการปกครอง หรือโดยเพื่อนร่วมรุ่น (ในกรณีหลักสูตร  สัปดาห์ขึ้นไป

                             .  การประเมินปฏิกิริยาของผู้เข้ารับการฝึกอบรม (Reaction) ต่อความเหมาะสมในเนื้อหาสาระวิชา วิทยากร และการบริหารโครงการฝึกอบรมทั่ว ๆ ไป

                             .  การประเมินผลลัพธ์ (Outcome) โดยการติดตามประเมินผลทั้งจากผลงานและความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของผู้ผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ

 

สรุปการบริหารการฝึกอบรม

 

                การบริหารการฝึกอบรมของวิทยาลัยการปกครอง จะมีระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับต่าง ๆ เป็นกรอบในการดำเนินการที่เป็นประเพณีสืบต่อกันมายาวนาน ทำให้กลุ่มงานที่รับผิดชอบปฏิบัติอยู่ภายใต้ความเป็นมาตรฐานเดียวกัน 

 

  

 สงวนลิขสิทธิ์โดยวิทยาลัยการปกครอง © copyright by Institute of Administration Development